ประวัติวัดไทยลุมพินี

 

ประวัติโดยสังเขป

 

DJI_0031          วัดไทยลุมพินี ตั้ง อยู่ในปริมณฑลสังเวชนียสถานที่ประสูติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ สวนลุมพินีวัน ราชอาณาจักรเนปาล สร้างขึ้นด้วยศรัทธาของพุทธบริษัทชาวไทย ในนามของรัฐบาลแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยใช้งบประมาณแผ่นดิน และผู้ศรัทธาร่วมทำบุญ ทำสัญญาเช่าที่ดิน จากรัฐบาลเนปาล จำนวน ๒ แปลง รวมพื้นที่ ๕ เอเคอร์ (๑๓ ไร่เศษ)เป็นระยะเวลา ๙๙ ปี เพื่อเป็นการบูชาคุณพระพุทธศาสนา และร่วมเฉลิมฉลอง ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ ๕๐ ปี

          ลุมพินี วันในปัจจุบัน เป็นพุทธอุทยาน อนุสรณ์สถาน แห่งปีการฉลองพุทธชยันตี ๒๕ พุทธศตวรรษ สมัยที่ท่านอูถั่น ชาวพุทธพม่า ครั้งดำรงตำแหน่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ปรารภและเชื้อเชิญชาวพุทธทั่วโลก ให้มารวมใจกันสร้างพุทธานุสรณ์สถาน เป็นพุทธบูชา แด่องค์พระบรมศาสดา ผู้ประกาศพุทธธรรม นำสันติภาพให้เกิดขึ้นในโลก
บรรดา ผู้นับถือพระพุทธศาสนาจากทั่วโลก ได้สนอง ดำริของท่านอูถั่นอย่างท่วมท้นพร้อมกับขอให้องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่ง โลก เป็นแกนกลางประสานงานกับโครงการพัฒนาลุมพินีสถาน ของรัฐบาลเนปาล ขอให้พื้นที่ปลูกป่าใหญ่นับหมื่นเอเคอร์ และจัดสรรพื้นที่ให้เป็นพุทธอุทยาน พร้อมกับเชื้อเชิญประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา มาสร้างวัดในนามประเทศของตน ณ บริเวณพุทธสถาน (Monastic Zone) เพื่อเป็นการเผยแผ่พุทธศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สถาปัตยกรรมของชาตินั้นๆ ในพื้นที่ ๖,๐๐๐ ไร่ ปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๕๒) มีวัดนานาชาติ จำนวน ๒๓ แห่งแล้ว
คณะ รัฐมนตรีในรัฐบาลไทยมีมติเห็นชอบในหลักการให้สร้างวัดไทยลุมพินีขึ้น(๑๕ ธันวาคม ๒๕๓๕) โดยใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน และมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการ แต่งตั้งคณะกรรมการก่อสร้าง เพื่อทำหน้าที่ในการออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง ให้เป็นไปตามเป้าหมาย คือ การส่งเสริมเผยแผ่พระพุทธศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมไทย ตามข้อตกลง (Commitment) ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลเนปาล ในโครงการพัฒนาลุมพินีสถาน เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการเผยแผ่ และสืบสานพระพุทธศาสนาต่อไป

          เมื่อ ปี ๒๕๓๘ การก่อสร้างจึงเริ่มขึ้น โดยพระเมตตาของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จมาทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๘ มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เอกอัครราชทูต กรมการศาสนา กรรรมการพัฒนาลุมพินีวัน (LDT) และพุทธบริษัทชาวไทยและเนปาล มาร่วมในพิธีเป็นจำนวนมาก
เมื่อ กรมการศาสนาได้รับมอบหมายให้ดูแลงานก่อสร้าง จึงลงมือสร้างศาสนสถาน ตามแผนที่กำหนดไว้ ในปี พ.ศ.๒๕๓๙ ปรากฏผลงาน คือ การปรับระดับพื้นที่บริเวณวัด สร้างกำแพงรั้วรอบวัด หอฉัน หอสวดมนต์ และกุฏิสงฆ์ ๒ หลัง จัดทำระบบไฟฟ้า น้ำประปา สร้างสระโบกขรณี ถังเก็บน้ำ บ่อบาดาล ปลูกต้นไม้สำคัญตามพุทธประวัติ จัดสวนไม้ดอก ไม้ประดับ ให้เป็นรมณียสถานที่สวยสดงดงาม และระบบสาธารณูปโภคอื่นๆ
ตาม กำหนดวัดนี้จะเสร็จภายใน พ.ศ.๒๕๔๐ เพื่อร่วมเฉลิมฉลอง ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ ๕๐ ปี แต่เนื่องด้วยภาวะเศรษฐกิจขณะนั้นไม่อำนวย งานจึงยืดเวลาออกมา ถึงอย่างไรก็ตาม ตามแผนที่วางไว้อีกวาระหนึ่งว่า วัดไทยลุมพินี จะเสร็จสมบูรณ์ภายในปี ๒๕๕๒ และสามารถผูกพัทธสีมา ฝังลูกนิมิตได้ ในปี ๒๕๕๔ นี้
ต่อ มาสถานทูตไทย ณ กรุงกาฐมาณฑุ ขอให้กรมการศาสนา นำความกราบเรียนต่อมหาเถรสมาคม เพื่อขอพระภิกษุมาอยู่ประจำเป็นการถาวรดังเช่นวัดอื่นๆ ในบริเวณลุมพินี และจะได้ช่วยดูแลงานก่อสร้างตามโครงการอีกด้วย ทั้งยังจะเป็นที่เคารพ กราบไหว้ ของชาวไทยและชาวต่างประเทศ ที่เดินทางไปแสวงบุญ นอกจากนี้ ยังจะเป็นผู้แทนของคณะสงฆ์ ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในสถานที่ประสูติของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย
มหา เถรสมาคมประชุมครั้งที่ ๒๘/๒๕๔๒ (๑๖ สิงหาคม ๒๕๔๒) มีมติมอบหมายให้วัดไทยพุทธคยา ในฐานะหัวหน้าพระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย ช่วยจัดส่งพระธรรมทูตไปช่วยดูแลงานก่อสร้างที่วัดไทยลุมพินี ตามความประสงค์ของรัฐบาล
พระ เทพโพธิวิเทศ (ทองยอด ภูริปาโล ป.ธ.๙) ในฐานะหัวหน้าพระธรรมทูต ได้มอบหมายให้ พระครูปลัดสุวัฒนสัทธาคุณ ปัจจุบันพระราชรัตนรังษี (วีรยุทธ์ วีรยุทฺโธ) พระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย วัดไทยพุทธคยา ซึ่งขณะนั้นทำหน้าที่เป็นประธานคณะสงฆ์วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ สาธารณรัฐอินเดีย ซึ่งระยะทางใกล้กับวัดไทยลุมพินีอยู่แล้ว โดยให้มาปฏิบัติหน้าที่ เป็นผู้ดูแลงานก่อสร้าง และปฏิบัติหน้าที่เจ้าอาวาสวัดไทยลุมพินี พร้อมกับคัดสรรคณะปูรกะ จากวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์เพิ่มอีก ๔ รูป เป็นสงฆ์ปัญจวรรค มาอยู่ประจำ ตั้งแต่วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๒ เป็นต้นมา
ด้วย ถิ่นนี้ยังทุรกันดารนัก ยังไม่สะดวกต่อสงฆ์หมู่มากที่จะมาจำพรรษา จึงส่งพระผู้มีศรัทธาไปเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมพระธรรมทูต ของมหาเถรสมาคม กับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อสำเร็จแล้วจึงมาปฏิบัติงานดังนี้
-พ.ศ. ๒๕๔๓  มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา จำนวน ๕ รูป
-พ.ศ. ๒๕๔๔  มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา จำนวน ๗ รูป สามเณรเนปาล ๓ รูป
-พ.ศ. ๒๕๔๕  มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา จำนวน ๑๐ รูป สามเณรเนปาล ๓ รูป
-พ.ศ. ๒๕๔๖  มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา จำนวน ๙ รูป สามเณรเนปาล ๓ รูป
-พ.ศ. ๒๕๔๗  มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา จำนวน ๑๑ รูป สามเณรเนปาล ๗ รูป
-พ.ศ. ๒๕๔๘  มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา จำนวน ๑๕ รูป สามเณรเนปาล ๒ รูป
-พ.ศ. ๒๕๔๙  มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา จำนวน ๑๔ รูป สามเณรเนปาล ๒ รูป
-พ.ศ. ๒๕๕๐  มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา จำนวน ๑๕ รูป สามเณรเนปาล ๒ รูป
-พ.ศ. ๒๕๕๑  มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา จำนวน ๑๐ รูป อาสาสมัคร ๓ คน
-พ.ศ. ๒๕๕๒  มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา จำนวน ๑๑ รูป อาสาสมัคร ๓ คน
-พ.ศ. ๒๕๕๓  มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา จำนวน ๑๑ รูป อาสาสมัคร ๓ คน

วัด ไทยลุมพินีขณะนี้ดำเนินการสร้างศาสนสถานอย่างต่อเนื่อง โดยงบประมาณแผ่นดินที่รัฐบาลจัดสรรให้เป็นหลัก กับทุนทรัพย์ที่ผู้ศรัทธาร่วมกันบริจาคสมทบ มีสิ่งก่อสร้างที่เสร็จสมบูรณ์แล้วดังนี้

               ๑. พระอุโบสถที่มีแบบแปลนเป็นเลิศด้วยสถาปัตยกรรม โดยสถาปนิก ศิลปินแห่งชาติ รศ. ดร. ภิญโญ  สุวรรณคีรี  ประธานกรรมการผู้ออกแบบ  ในความดูแลของคณะกรรมการ จากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และสถานทูตไทย ณ กรุงกาฐมาณฑุ
๒. กุฏิมหาเถรสมาคม (กุฏิกรรมฐาน) ๑๑ หลัง
๓. กุฏิสงฆ์ทรงไทย  ๔  หลัง
๔. อาคารหอสวดมนต์ทรงไทยประยุกต์ ๒ ชั้น ๑ หลัง
๕. อาคารอเนกประสงค์ที่พักผู้แสวงบุญ ๒ ชั้น ๑ หลัง (โรงเรียนพระปริยัติธรรมนานาชาติ)
๖. อาคารสำนักงาน ๓ ชั้น ๑ หลัง (ที่พักผู้แสวงบุญ และที่เจริญจิตภาวนานานาชาติ)
๗. อาคารโรงทาน(ครัว) ๑ หลัง
๘. อาคารที่พักคณะเตรียมงานผูกพัทธสีมา (หลังอุโบสถ) จำนวน ๑๒ ห้อง
๙. ที่พักคนงาน
๑๐. ห้องน้ำ ห้องสุขา สำหรับผู้แสวงบุญ
๑๑. ถนนและสะพาน เข้าวัดไทยลุมพินี ตามมติมหาเถรสมาคมที่ ๒๑๖/๒๕๔๖  และ ตามเอกสารอนุญาตดำเนินการสร้างถนนและสะพาน เลขที่ LDT. ๕๕/๒๕๔๙ ด้านทิศเหนือของวัดไทยลุมพินี

โครงการที่กำลังดำเนินการ
๑. สร้างกุฏิกรรมฐาน ๒๒ หลังเพื่อเป็นอนุสรณ์วันเกิดถวายคณะกรรมการมหาเถรสมาคมผู้บำเพ็ญหิตานุหิต ประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นที่ปฏิบัติธรรมฝ่ายพระกรรมฐานและให้สาธุชนทั่วไปมาถือศีลปฏิบัติ ธรรมอันเป็นสัดส่วนเฉพาะ โดยขอสนับสนุนงบประมาณแผ่นดิน และรับบริจาคจากพุทธบริษัทผู้มีศรัทธาทั่วไป ขณะนี้ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ จำนวน ๑๑ หลัง
๒. สร้างตำหนักสมเด็จพระสังฆราช จำนวน ๑ หลัง เพื่อรองรับบุคคลสำคัญที่จะเดินทางมาร่วมงานผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิต เปิดวัด จาริกแสวงบุญ และงานสำคัญอื่น ๆ
ทั้งนี้เพื่อให้วัดไทยแห่งนี้เด่นสง่ามีความเป็นเลิศทางสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม สิ่งแวดล้อม และเอกลักษณ์ของชาติไทย เคียงคู่อยู่เป็นหนึ่งในศาสนสถานนานาชาติและจะเป็นวัดตัวอย่างที่สมบูรณ์แบบ ควรค่าแก่การศึกษาเรียนรู้ของนานาอารยประเทศ มีกำหนดจะสร้างศาลาจตุรทิศ วิหารคตพระมหาเจดีย์ ตำหนักสมเด็จ กุฏิรับรองพระมหาเถระ อาคารรองรับบุคคลสำคัญ หอไตรกลางน้ำพระประธานในพระอุโบสถ มณฑป จิตรกรรมฝาผนังห้องสุขาสาธารณะ เป็นต้น ตามโครงการต่อไป